วันพฤหัสบดีที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2552

1. ชื่อโครงงาน
โครงงาน ประดิษฐ์เศษวัสดุเหลือใช้ ( ดอกเห็ดกะลามะพร้าว )
2. สาระสำคัญ
เศษวัสดุเหลือใช้ ประเภทเศษไม้ กะลามะพร้าวที่ใช้เนื้อแล้ว สามารถนำมาดัดแปลง ตกแต่ง
ให้สวยงาม แล้วนำมาใช้ประโยชน์ได้ ผู้เรียนสามารถประดิษฐ์ได้เองในระยะเวลาสั้นๆ นอกจาก
จะเป็นการนำเศษวัสดุที่เหลือใช้กลับมาดัดแปลงให้เกิดประโยชน์อีกครั้งแล้ว ยังเป็นการฝึกสมาธิ
ฝึกทักษะ ฝึกการทำงานร่วมกับผู้อื่น ฝึกความสามัคคี แล้วยังพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ให้กับ
ผู้เรียนได้ดียิ่งขึ้นด้วย
3. จำนวนผู้จัดทำ
สมาชิกจำนวนกลุ่มละ 3 คน
4. ที่มาและความสำคัญของโครงงาน
กะลามะพร้าวที่เหลือจากการใช้เนื้อมะพร้าวทำขนม หรืออาหารของแม่ครัวและผู้ปกครอง นักเรียนเป็นเศษวัสดุเหลือใช้ ซึ่งกลายเป็นขยะที่มีมากในโรงเรียนและในหมู่บ้าน เราสามารถนำเศษ- วัสดุเหลือใช้เหล่านี้มาประดิษฐ์เป็นของใช้ ของประดับตกแต่ง โดยให้ผู้เรียนเล็งเห็นคุณค่าของเศษ วัสดุและเห็นแนวทางจากของจริง แล้วให้ผู้เรียนวางแผนออกแบบ จัดเตรียมวัสดุ - อุปกรณ์ จนถึง ขั้นปฏิบัติงานพร้อมทั้งรายงานผลการปฏิบัติงาน เป็นวิธีการหนึ่งของการจัดกิจกรรมการเรียนการ สอนของชมรมศิลปะ ตามกลุ่มสาระการเรียนรู้ ศิลปะ (ทัศนศิลป์) ที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนได้สร้างองค์ ความรู้ได้ด้วยตนเอง พร้อมทั้งพัฒนาความคิดสร้างสรรค์จากการปฏิบัติกิจกรรมที่ตนเองและเพื่อน สนใจและร่วมงานวางแผนไว้
5. วัตถุประสงค์ของการศึกษาค้นคว้า
5.1 เพื่อให้นักเรียนสามารถวางแผนและออกแบบการทำดอกเห็ดจากกะลามะพร้าวได้
5.2 เพื่อให้นักเรียนสามารถบอกขั้นตอนการทำดอกเห็ดจากกะลามะพร้าวได้
5.3 เพื่อให้นักเรียนสามารถนำเศษวัสดุเหลือใช้มาดัดแปลงให้เกิดประโยชน์ได้
5.4 เพื่อให้นักเรียนรู้จักการทำงานร่วมกับผู้อื่นและมีความสามัคคีในหมู่คณะ
5.5 เพื่อให้นักเรียนได้เรียนรู้ตามความสนใจและเกิดความภาคภูมิใจในผลงานของตน

6. สมมุติฐานของการศึกษาค้นคว้า
เศษวัสดุเหลือใช้ประเภทกะลามะพร้าว สามารถนำมาดัดแปลง ตกแต่งให้เกิดประโยชน์ได้

7. วิธีดำเนินการ
7.1 วัสดุ / อุปกรณ์ที่ใช้
☻ กะลามะพร้าว
☻ เศษไม้กระดาน ท่อนไม้
☻ กระดาษทราย
☻ เลื่อย ค้อน ตะปู
☻ สีน้ำพลาสติก
☻ แปรงทาสี
☻ กาวตราช้าง
☻ แล็กเกอร์
7.2 แนวทางการศึกษาค้นคว้า
แผนระยะที่ 1 เริ่มต้นโครงงาน
1. การศึกษาสภาพปัญหา ครูสนทนากับนักเรียนเกี่ยวกับเศษวัสดุเหลือใช้ที่กลายเป็นขยะในโรงเรียนและในหมู่บ้านของนักเรียน เช่น เศษไม้ กะลามะพร้าวที่ใช้แล้ว เราน่าจะนำมาดัดแปลง ตกแต่งให้เกิดประโยชน์ได้
2. การอภิปราย วิเคราะห์ ร่วมกันกำหนดเรื่องที่จะทำโครงงาน โดยครูและนักเรียนร่วมกันจัดทำเป็นโครงงานดอกเห็ดจากกะลามะพร้าวและประโยชน์ที่จะได้รับจากการจัดทำขึ้น
3. การวางแผนโครงงาน ครูใช้เทคนิคต่างๆ จัดกิจกรรมเพื่อให้นักเรียนแบ่งกลุ่มออก เป็นกลุ่ม
กลุ่มละ 3 คน ต่อจากนั้นให้นักเรียนแต่ละกลุ่มร่วมกันวางแผนในการจัดเตรียมวัสดุ - อุปกรณ์ ในการดำเนินกิจกรรม โครงงานดอกเห็ดจากกะลามะพร้าว
แผนระยะที่ 2 พัฒนาโครงงาน
1. การดำเนินกิจกรรม โดยให้นักเรียนแต่ละกลุ่มนำวัสดุ - อุปกรณ์บางส่วนมาเอง บางส่วนครูจัดเตรียมให้ แล้วให้นักเรียนลงมือปฏิบัติ ดัดแปลง ตกแต่ง ลวดลาย สีสัน ตามข้อตกลงของสมาชิกในกลุ่ม ซึ่งแต่ละกลุ่มจะมีการตกแต่งลวดลายไม่เหมือนกัน
2. รายงานผลการดำเนินกิจกรรม ให้นักเรียนคัดเลือกตัวแทนแต่ละกลุ่มเพื่อรายงานถึงขั้นตอนและกระบวนการทำงานโครงงานดอกเห็ดจากกะลามะพร้าว ของกลุ่มตลอดจนบอกถึงประโยชน์ในการทำ
แผนระยะที่ 3 รวบรวม สรุป
1. การแสดงผลงาน ผลงานของแต่ละกลุ่มให้นำมาจัดแสดงไว้ในบริเวณชั้นเรียนตามความเหมาะสม แล้วให้เพื่อนนักเรียนในชั้นร่วมชื่นชมผลงานของสมาชิกทุกกลุ่มตลอดจนบอกถึงประโยชน์ของเศษวัสดุเหลือใช้และประโยชน์ของโมบายแสนสวย
2. สรุปการดำเนินกิจกรรม / ข้อเสนอแนะ การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนแบบ-โครงงาน ในขั้นตอนนี้ นักเรียนและครูร่วมกันอภิปรายถึงเรื่องต่างๆ ปัญหาและอุปสรรคในการปฏิบัติงาน พร้อมกันนี้ร่วมกันสรุปถึงขั้นตอนหรือกระบวนการทำงาน ประโยชน์ในการทำดอกเห็ดจากกะลามะพร้าว ตลอดจนร่วมกันเสนอแนะข้อคิดเห็นในการดำเนินกิจกรรมครั้งต่อไป
8. แผนการปฏิบัติงาน
8.1 กิจกรรมการศึกษาสภาพปัญหา จัดในเวลาเหมาะสม ประมาณ 5 นาที
8.2 กิจกรรมอภิปราย / วิเคราะห์ / กำหนดเรื่องที่จะทำโครงงาน ประมาณ 5 นาที
8.3 กิจกรรมการวางแผนการทำโครงงาน เวลาประมาณ 5 นาที
( กิจกรรมตามข้อ 8.1 - 8.3 ปฏิบัติกิจกรรมล่วงหน้า 1 วัน )
8.4 การดำเนินกิจกรรมใช้เวลาประมาณ 3 ชั่วโมง
8.5 รายงานผลการดำเนินกิจกรรมใช้เวลาประมาณ 15 นาที
8.6 การแสดงผลงาน ใช้เวลาประมาณ 10 นาที
8.7 การสรุปผลการดำเนินกิจกรรม ใช้เวลาประมาณ 10 นาที
( กิจกรรมตามข้อ 8.4 - 8.7 ปฏิบัติกิจกรรมในชั่วโมงชมรม )

9. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
9.1 นักเรียนได้รับความรู้ความเข้าใจ และทักษะการทำงานตามกระบวนการกลุ่ม
9.2 นักเรียนได้ปฏิบัติกิจกรรมตามความถนัดและความสนใจของตนเอง
9.3 นักเรียนได้รับการฝึกทักษะและความคิดริเริ่มสร้างสรรค์
9.4 นักเรียนได้รู้จักการนำเศษวัสดุเหลือใช้มาดัดแปลง ประดิษฐ์ ตกแต่งให้เกิดประโยชน์

วันพฤหัสบดีที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552

ประโยชน์ของคอมพิวเตอร์

ประโยชน์ของคอมพิวเตอร์
จากการที่คอมพิวเตอร์มีลักษณะเด่นหลายประการ ทำให้ถูกนำมาใช้ประโยชน์ต่อการดำเนินชีวิตประจำวันในสังคมเป็นอย่างมาก ที่พบเห็นได้บ่อยที่สุดก็คือ การใช้ในการพิมพ์เอกสารต่างๆ เช่น พิมพ์จดหมาย รายงาน เอกสารต่างๆ ซึ่งเรียกว่างานประมวลผล ( word processing ) นอกจากนี้ยังมีการประยุกต์ใช้คอมพิวเตอร์ในด้านต่างๆ อีกหลายด้าน ดังต่อไปนี้
1.งานธุรกิจ เช่น บริษัท ร้านค้า ห้างสรรพสินค้า ตลอดจนโรงงานต่างๆ ใช้คอมพิวเตอร์ในการทำบัญชี งานประมวลคำ และติดต่อกับหน่วยงานภายนอกผ่านระบบโทรคมนาคม นอกจากนี้งานอุตสาหกรรม ส่วนใหญ่ก็ใช้คอมพิวเตอร์มาช่วยในการควบคุมการผลิต และการประกอบชิ้นส่วนของอุปกรณ์ต่างๆ เช่น โรงงานประกอบรถยนต์ ซึ่งทำให้การผลิตมีคุณภาพดีขึ้นบริษัทยังสามารถรับ หรืองานธนาคาร ที่ให้บริการถอนเงินผ่านตู้ฝากถอนเงินอัตโนมัติ ( ATM ) และใช้คอมพิวเตอร์คิดดอกเบี้ยให้กับผู้ฝากเงิน และการโอนเงินระหว่างบัญชี เชื่อมโยงกันเป็นระบบเครือข่าย
2.งานวิทยาศาสตร์ การแพทย์ และงานสาธารณสุข สามารถนำคอมพิวเตอร์มาใช้ในนำมาใช้ในส่วนของการคำนวณที่ค่อนข้างซับซ้อน เช่น งานศึกษาโมเลกุลสารเคมี วิถีการโคจรของการส่งจรวดไปสู่อวกาศ หรืองานทะเบียน การเงิน สถิติ และเป็นอุปกรณ์สำหรับการตรวจรักษาโรคได้ ซึ่งจะให้ผลที่แม่นยำกว่าการตรวจด้วยวิธีเคมีแบบเดิม และให้การรักษาได้รวดเร็วขึ้น
3.งานคมนาคมและสื่อสาร ในส่วนที่เกี่ยวกับการเดินทาง จะใช้คอมพิวเตอร์ในการจองวันเวลา ที่นั่ง ซึ่งมีการเชื่อมโยงไปยังทุกสถานีหรือทุกสายการบินได้ ทำให้สะดวกต่อผู้เดินทางที่ไม่ต้องเสียเวลารอ อีกทั้งยังใช้ในการควบคุมระบบการจราจร เช่น ไฟสัญญาณจราจร และ การจราจรทางอากาศ หรือในการสื่อสารก็ใช้ควบคุมวงโคจรของดาวเทียมเพื่อให้อยู่ในวงโคจร ซึ่งจะช่วยส่งผลต่อการส่งสัญญาณให้ระบบการสื่อสารมีความชัดเจน
4.งานวิศวกรรมและสถาปัตยกรรม สถาปนิกและวิศวกรสามารถใช้คอมพิวเตอร์ในการออกแบบ หรือ จำลองสภาวการณ์ ต่างๆ เช่น การรับแรงสั่นสะเทือนของอาคารเมื่อเกิดแผ่นดินไหว โดยคอมพิวเตอร์จะคำนวณและแสดงภาพสถานการณ์ใกล้เคียงความจริง รวมทั้งการใช้ควบคุมและติดตามความก้าวหน้าของโครงการต่างๆ เช่น คนงาน เครื่องมือ ผลการทำงาน
5.งานราชการ เป็นหน่วยงานที่มีการใช้คอมพิวเตอร์มากที่สุด โดยมีการใช้หลายรูปแบบ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับบทบาทและหน้าที่ของหน่วยงานนั้นๆ เช่น กระทรวงศึกษาธิการ มีการใช้ระบบประชุมทางไกลผ่านคอมพิวเตอร์ , กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ได้จัดระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตเพื่อเชื่อมโยงไปยังสถาบันต่างๆ ,กรมสรรพากร ใช้จัดในการจัดเก็บภาษี บันทึกการเสียภาษี เป็นต้น
6.การศึกษา ได้แก่ การใช้คอมพิวเตอร์ทางด้านการเรียนการสอน ซึ่งมีการนำคอมพิวเตอร์มาช่วยการสอนในลักษณะบทเรียน CAI หรืองานด้านทะเบียน ซึ่งทำให้สะดวกต่อการค้นหาข้อมูลนักเรียน การเก็บข้อมูลยืมและการส่งคืนหนังสือห้องสมุด
จาก www.dld.go.th

เทคโนโลยีสารสนเทศ

บทบาทความสำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศ
ความก้าวหน้าทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ทำให้มีการพัฒนาคิดค้นสิ่งอำนวยความสะดวกสบายต่อการดำชีวิตเป็นอันมาก เทคโนโลยีได้เข้ามาเสริมปัจจัยพื้นฐานการดำรงชีวิตได้เป็นอย่างดี เทคโนโลยีทำให้การสร้างที่พักอาศัยมีคุณภาพมาตรฐาน สามารถผลิตสินค้าและให้บริการต่าง ๆ เพื่อตอบสนองความต้องการของมนุษย์มากขึ้น เทคโนโลยีทำให้ระบบการผลิตสามารถผลิตสินค้าได้เป็นจำนวนมากมีราคาถูกลง สินค้าได้คุณภาพ เทคโนโลยีทำให้มีการติดต่อสื่อสารกันได้สะดวก การเดินทางเชื่อมโยงถึงกันทำให้ประชากรในโลกติดต่อรับฟังข่าวสารกันได้ตลอดเวลา
พัฒนาการของเทคโนโลยีทำให้ชีวิตความเป็นอยู่เปลี่ยนไปมาก ลองย้อนไปในอดีตโลกมีกำเนินมาประมาณ 4600 ล้านปี เชื่อกันว่าพัฒนาการตามธรรมชาติทำให้เกิดสิ่งมีชีวิตถือกำเนินบนโลกประมาณ 500 ล้านปีที่แล้ว ยุคไดโนเสาร์มีอายุอยู่ในช่วง 200 ล้านปี สิ่งมีชีวิตที่เป็นเผ่าพันธุ์มนุษย์ ค่อย ๆ พัฒนามา คาดคะเนว่าเมื่อห้าแสนปีที่แล้วมนุษย์สามารถส่งสัญญาณท่าทางสื่อสารระหว่างกันและพัฒนามาเป็นภาษา มนุษย์สามารถสร้างตัวหนังสือ และจารึกไว้ตามผนึกถ้ำ เมื่อประมาณ 5000 ปีที่แล้ว กล่าวได้ว่ามนุษย์ต้องใช้เวลานานพอสมควรในการพัฒนาตัวหนังสือที่ใช้แทนภาษาพูด และจากหลักฐานทางประวัติศาสตร์พบว่า มนุษย์สามารถจัดพิมพ์หนังสือได้เมื่อประมาณ 5000 ปีที่แล้ว กล่าวได้ว่าฐานทางประวัติศาสตร์พบว่า มนุษย์สามารถจัดพิมพ์หนังสือได้เมื่อประมาณ 500 ถึง 800 ปีที่แล้ว เทคโนโลยีเริ่มเข้ามาช่วยในการพิมพ์ ทำให้การสื่อสารด้วยข้อความและภาษาเพิ่มขึ้นมาก เทคโนโลยีพัฒนามาจนถึงการสื่อสารกัน โดยส่งข้อความเป็นเสียงทางสายโทรศัพท์ได้ประมาณร้อยกว่าปีที่แล้ว และเมื่อประมาณห้าสิบปีที่แล้ว ก็มีการส่งภาพโทรทัศน์และคอมพิวเตอร์ทำให้มีการใช้สารสนเทศในรูปแบบข่าวสารมากขึ้น ในปัจจุบันมีสถานที่วิทยุ โทรทัศน์ หนังสือพิมพ์ แ ละสื่อต่าง ๆ ที่ใช้ในการกระจ่ายข่าวสาร มีการแพร่ภาพทางโทรทัศน์ผ่านดาวเทียมเพื่อรายงานเหตุการณ์สด เห็นได้ชัดว่าเทคโนโลยีได้เข้ามามีบทบาทอย่างมาก บทบาทของการพัฒนาเทคโนโลยีรวดเร็วขึ้นเมื่อมีการพัฒนาอุปกรณ์ทางด้านคอมพิวเตอร์และส่วนประกอบ จะเห็นได้ว่าในช่วงสี่ห้าปีที่ผ่านมาจะมีผลิตภัณฑ์ใหม่ ซึ่งมีคอมพิวเตอร์เข้าไปเกี่ยวข้องให้เห็นอยู่ตลอดเวลา

รูปแสดงการติดต่อสื่อสารผ่านดาวเทียม
นักเรียนลองจินตนาการดูว่า นักเรียนเกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีด้านใดบ้างจากตัวอย่างต่อไปนี้ เมื่อตื่นนอนนักเรียนอาจได้ยินเสียงจากวิทยุ ซึ่งกระจายเสียงข่าวสารหรือเพลงไปทั่ว นักเรียนใช้โทรศัพท์สื่อสารกับเพื่อน ดูรายการทีวี วีดีโอเมื่อมาโรงเรียนเดินทางผ่านถนนที่มีระบบไฟสัญญาณที่ควบคุมด้วยคอมพิวเตอร์ ถ้าไปศูนย์การค้า ขึ้นลิฟต์ ขึ้นบันไดเลื่อนซึ่งควบคุมการทำงานด้วยคอมพิวเตอร์ ที่บ้านนักเรียน นักเรียนอาจอยู่ในห้องที่มีเครื่องปรับอากาศที่ควบคุมอุณหภูมิโดยอัตโนมัติ คุณแม่ทำอาหารด้วยเตาอบซึ่งควบคุมด้วยระบบคอมพิวเตอร์ ซักผ้าด้วยเครื่องซักผ้า จะเห็นว่าชีวิตในปัจจุบันเกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีเป็นอันมาก อุปกรณ์เหล่านี้ส่วนใหญ่ใช้ระบบคอมพิวเตอร์เป็นส่วนประกอบในการทำงาน
รูปแสดงเครื่องอำนวยความสะดวกภายในบ้าน
ในอดีตยุคที่มนุษย์ยังเร่ร่อน มีอาชีพเกษตรกรรม ล่าสัตว์ ต่อมามีการรวมตัวกันสร้างเมือง และสังคมเมืองทำให้เกิดอุตสาหกรรมการผลิต การผลิตทำให้เกิดการปฏิวัติทางอุตสาหกรรมที่เน้นการผลิตจำนวนมาก สังคมจึงเป็นสังคมเมืองที่มีอุตสาหกรรมเข้ามาเกี่ยวข้อง แต่หลังจากปี พ.ศ. 2530 เป็นต้นมา ระบบสื่อสารโทรคมนาคมและคอมพิวเตอร์ก้าวหน้ามาก ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงเข้าสู่ยุคสังคมสารสนเทศ ชีวิตความเป็นอยู่เกี่ยวข้องกับข้อมูลข่าวสารจำนวนมาก การสื่อสารโทรคมนาคมกระจายทั่วถึง ทำให้ข่าวสารแพร่กระจ่ายไปอย่างรวดเร็ว สังคมในปัจจุบันเป็นสังคมไร้พรมแดนเพราะเรื่องราวของประเทศหนึ่งสามารถกระจายแพร่ออกไปยังประเทศต่าง ๆ ได้อย่างรวดเร็ว
นิยามเกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศ
คำว่าเทคโนโลยี หมายถึง การประยุกต์เอาความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์มาใช้ให้เกิดประโยชน์ การศึกษาพัฒนาองค์ความรู้ต่าง ๆ ก็เพื่อให้เข้าใจธรรมชาติ กฎเกณฑ์ของสิ่งต่าง ๆ และหาทางนำมาประยุกต์ให้เกิดประโยชน์ เทคโนโลยีจึงเป็นค้าที่มีความหมายกว้างไกล เป็นคำที่เราได้พบเห็นและได้ยินอยู่ตลอดมา
ลองนึกดูว่าทรายที่เราเห็นอยู่บนพื้นดิน ตามชายหาด ชายทะเลเป็นสารประกอบของซิลิกอน ทรายเหล่านั้นมีราคาต่ำและเรามองข้ามไป ครั้งมีบางคนที่เรียนรู้วิธีการแยกสกัดเอาสารซิลิกอนให้บริสุทธิ์ และเจือสารบางอย่างให้เกิดเป็นสิ่งที่เรียกว่าสารกึ่งตัวนำ นำมาผลิตเป็นทรานซิสเตอร์ และไอซี (Integrated Circuit : IC) ไอซีนี้เป็นอุปกรณ์ที่รวมวงจรอิเล็กทรอนิกส์จำนวนมากไว้ด้วยกัน ใช้เป็นชิพซึ่งเป็นส่วนสำคัญของคอมพิวเตอร์ สารซิลิกอนดังกล่าวเมื่อผ่านกรรมวิธีทางเทคโนโลยีแล้วจะมีราคาสูงสามารถนำมาขายได้เงินเป็นจำนวนมาก ดังนั้นเทคโนโลยีจึงเป็นหัวใจของการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้า และผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ เพราะเรานำเอาวัตถุดิบมาผ่านเทคนิคการดำเนินการ จะได้วัตถุสำเร็จรูป สินค้าเหล่านี้จะมีมูลค่าเพิ่มจากวัตถุดิบนั้นมาก ประเทศใดมีเทคโนโลยีมากมักจะเป็นประเทศที่พัฒนาแล้ว เทคโนโลยีจึงเป็นหาทางที่จะช่วยในการพัฒนาให้สินค้าและบริการมีมูลค่าเพิ่มขึ้น ทุกประเทศจึงให้ความสำคัญของการใช้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเข้ามาช่วยงานด้านต่าง ๆ
ส่วนคำว่าสารสนเทศ หมายถึงข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อการดำเนินชีวิตของมนุษย์ มนุษย์แต่ละคนตั้งแต่เกิดมาได้เรียนรู้สิ่งต่าง ๆ เป็นจำนวนมาก เรียนรู้สภาพสังคมความเป็นอยู่ กฎเกณฑ์และวิชาการ ลองจินตนาการดูว่าภายในสมองของเราเก็บข้อมูลอะไรบ้าง เราคงตอบไม่ได้ แต่สามารถเรียกเอาข้อมูลมาใช้ได้ ข้อมูลที่เก็บไว้ในสมองเป็นสิ่งที่สะสมกันมาเป็นเวลานาน ความรอบรู้ของแต่ละคนจึงขึ้นอยู่กับการเรียกใช้ข้อมูลนั้น ดังนั้นจะเห็นได้ชัดความรู้เกิดจากข้อมูลข่าวสารต่าง ๆ ทุกวันนี้มีข้อมูลรอบตัวเรามาก ข้อมูลเหล่านี้มาจากสื่อ เช่น วิทยุ โทรทัศน์ หนังสือพิมพ์ เครือข่ายคอมพิวเตอร์ หรือแม้แต่การสื่อสารระหว่างบุคคล จึงมีผู้กล่าวว่ายุคนี้เป็นยุคของสารสนเทศ

รูปแสดงสื่อที่ช่วยในการรับส่งข้อมูล
ภายในสมองมนุษย์ซึ่งเป็นที่เก็บข้อมูลไว้มากมายจะมีข้อจำกัดในการจัดเก็บ การเรียกใช้ การประมวลผล และการคิดคำนวณ ดังนั้นจึงมีผู้พยายามสร้างเครื่องจักรเครื่องมือ เพื่อดำเนินการเกี่ยวกับการจัดการสารสนเทศ เช่นเครื่องคอมพิวเตอร์ซึ่งสามารถเก็บข้อมูลไว้ในหน่วยความจำได้มาก สามารถให้ข้อมูลได้แม่นยำและถูกต้องเมื่อมีการเรียกค้นหา ทำงานได้ตลอดวันไม่เหน็ดเหนื่อย และยังส่งข้อมูลไปได้ไกลและรวดเร็วมาก เครื่องจักรอุปกรณ์ที่เกี่ยวกับสารสนเทศนั้นมีมากมายตั้งแต่เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์รอบข้าง ระบบสื่อสารโทรคมนาคมสมัยใหม่ ทำให้เกิดงานบริการที่อำนวยความสะดวกต่าง ๆ ในชีวิตประจำวัน เช่น การฝากถอนเงินผ่านเครื่องเอทีเอ็ม (Automatic Teller Machine : ATM) การจองตั๋วดูภาพยนตร์ การลงทะเบียนเรียนในโรงเรียน
เมื่อรวมคำว่าเทคโนโลยีกับสารสนเทศเข้าด้วยกัน จึงหมายถึงเทคโนโลยีที่ใช้จัดการสารสนเทศ เป็นเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องตั้งแต่การรวบรวมการจัดเก็บข้อมูล การประมวลผล การพิมพ์ การสร้างรายงาน การสื่อสารข้อมูล ฯลฯ เทคโนโลยีสารสนเทศจะรวมไปถึงเทคโนโลยีที่ทำให้เกิดระบบการให้บริการ การใช้ และการดูแลข้อมูล
เทคโนโลยีสารสนเทศจึงมีความหมายที่กว้างขวางมาก นักเรียนจะได้พบกับสิ่งรอบ ๆ ตัวที่เกี่ยวกับการใช้สารสนเทศอยู่มาก ดังนี้
การเก็บรวบรวมข้อมูล เป็นวิธีการรวบรวมข้อมูลเข้าสู่ระบบ นักเรียนอาจเห็นพนักงานการไฟฟ้าไปที่บ้านพร้อมเครื่องคอมพิวเตอร์ขนาดเล็กเพื่อบันทึกข้อมูลการใช้ไฟฟ้า ในการสอบแข่งขันที่มีผู้สอบจำนวนมาก ก็มีการใช้ดินสอระบายตามช่องที่เลือกตอบ เพื่อให้เครื่องอ่านเก็บรวบรวมข้อมูลได้ เมื่อไปซื้อสินค้าที่ห้างสรรพสินค้าก็มีการใช้รหัสแท่ง (bar code) พนักงานจะนำสินค้าผ่านการตรวจของเครื่องเพื่ออ่านข้อมูลการซื้อสินค้าที่บรรจุในรหัสแท่ง เมื่อไปที่ห้องสมุดก็พบว่าหนังสือมีรหัสแท่งเช่นเดียวกันการใช้รหัสแท่งนี้เพื่อให้ง่ายต่อการเก็บรวบรวมwbr>wb
การประมวลผล ข้อมูลที่เก็บมาได้มักจะเก็บในสื่อต่าง ๆ เช่น แผ่นบันทึก แผ่นซีดี หรือเทป เป็นต้น ข้อมูลเหล่านี้จะถูกนำมาประมวลผลตามต้องการ เช่น แยกแยะข้อมูลเป็นกลุ่ม เรียงลำดับข้อมูล คำนวณ หรือจัดการคัดแยกข้อมุลที่จัดเก็บนั้น

รูปแสดง การประมวลผลให้ออกมาในรูปเอกสาร
การแสดงผลลัพธ์ อุปกรณ์ที่ใช้เทคโนโลยีในการแสดงผลลัพธ์มีมาก สามารถแสดงเป็นตัวหนังสือ เป็นรูปภาพ ตลอดจนพิมพ์ออกมาที่กระดาษ การแสดงผลลัพธ์มีทั้งที่แสดงเป็นภาพ เป็นเสียง เป็นวีดิทัศน์ เป็นต้น

รูปแสดง การแสดงผลลัพท์ทางหน้าจอคอมพิวเตอร์
การทำสำเนา เมื่อมีข้อมูลที่จัดเก็บในสื่ออิเล็กทรอนิกส์ต่าง ๆ การทำสำเนาจะทำได้ง่าย และทำได้เป็นจำนวนมาก ดังนั้นอุปกรณ์ช่วยในการทำสำเนา จัดได้ว่าเป็นเทคโนโลยีสารสนเทศที่มีการพัฒนามาอย่างต่อเนื่อง เรามีเครื่องพิมพ์ เครื่องถ่ายเอกสาร อุปกรณ์การเก็บข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์ เช่น จานบันทึก ซีดีรอม ซึ่งสามารถทำสำเนาได้เป็นจำนวนมาก
การสื่อสารโทรคมนาคม เป็นวิธีการที่จะส่งจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่ง หรือกระจายออกไปยังปลายทางครั้งละมาก ๆ ปัจจุบันมีอุปกรณ์ระบบสื่อสารโทรคมนาคมหลายประเภท ตั้งแต่โทรเลข โทรศัพท์ เส้นใยนำแสง เคเบิลใต้น้ำ คลื่นวิทยุไมโครเวฟ ดาวเทียม เป็นต้น
ลักษณะสำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศ
โดยพื้นฐานของเทคโนโลยีย่อมมีประโยชน์ต่อการพัฒนาประเทศชาติให้เจริญก้าวหน้าได้ แต่เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับวิถีความเป็นอยู่ของสังคมสมัยใหม่อยู่มาก ลักษณะเด่นที่สำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศมีดังนี้
เทคโนโลยีสารสนเทศช่วยเพิ่มผลผลิต ลดต้นทุน และเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน ในการประกอบการทางด้านเศรษฐกิจ การค้า และการอุตสาหกรรม จำเป็นต้องหาวิธีในการเพิ่มผลผลิต ลดต้นทุน และเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานคอมพิวเตอร์และระบบสื่อสารเข้ามาช่วยทำให้เกิดระบบอัตโนมัติ เราสามารถฝากถอนเงินสดผ่านเครื่องเอทีเอ็มได้ตลอดเวลา ธนาคารสามารถให้บริการได้ดีขึ้น ทำให้การบริการโดยรวมมีประสิทธิภาพ ในระบบการจัดการทุกแห่งต้องใช้ข้อมูลเพื่อการดำเนินการและการตัดสินใจ ระบบธุรกิจจึงใช้เครื่องมือเหล่านี้ช่วยในการทำงาน เช่น ใช้ในระบบจัดเก็บเงินสด จองตั๋วเครื่องบิน เป็นต้น
เทคโนโลยีสารสนเทศเปลี่ยนรูปแบบการบริการเป็นแบบกระจาย เมื่อมีการพัฒนาระบบข้อมูล และการใช้ข้อมูลได้ดี การบริการต่าง ๆ จึงเน้นรูปแบบการบริการแบบกระจาย ผู้ใช้สามารถสั่งซื้อสินค้าจากที่บ้าน สามารถสอบถามข้อมุลผ่านทางโทรศัพท์ นิสิตนักศึกษาบางมหาวิทยาลัยสามารถใช้คอมพิวเตอร์สอบถามผลสอบจากที่บ้านได้
เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นสิ่งที่จำเป็น สำหรับการดำเนินการในหน่วยงานต่าง ๆ ปัจจุบันทุกหน่วยงานต่างพัฒนาระบบรวบรวมจัดเก็บข้อมูลเพื่อใข้ในองค์การประเทศไทยมีระบบทะเบียนราษฎร์ที่จัดทำด้วยระบบ ระบบเวชระเบียนในโรงพยาบาล ระบบการจัดเก็บข้อมูลภาษี ในองค์การทุกระดับเห็นความสำคัญที่จะนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้
เทคโนโลยีสารสนเทศเกี่ยวข้องกับคนทุกระดับ พัฒนาการด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ทำให้ชีวิตความเป็นอยู่ของคนเกี่ยวข้องกับเทคโนโลยี ดังจะเห็นได้จาก การพิมพ์ด้วยคอมพิวเตอร์ การใช้ตารางคำนวณ และใช้อุปกรณ์สื่อสารโทรคมนาคมแบบต่าง ๆ เป็นต้น
ผลของเทคโนโลยีสารสนเทศ
การกำเนิดของคอมพิวเตอร์เมื่อประมาณห้าสิบกว่าปีที่แล้ว เป็นก้าวสำคัญที่นำไปสู่ยุคสารสนเทศ ในช่วงแรกมีการนำเอาคอมพิวเตอร์มาใช้เป็นเครื่องคำนวณ แต่ต่อมาได้มีความพยายามพัฒนาให้คอมพิวเตอร์เป็นอุปกรณ์สำคัญสำหรับการจัดการข้อมูล เมื่อเทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์ได้ก้าวหน้ามากขึ้น ทำให้สามารถสร้างคอมพิวเตอร์ที่มีขนาดเล็กลง แต่ประสิทธิภาพสูงขึ้น สภาพการใช้งานจึงใช้งานกันอย่างแพร่หลาย ผลของเทคโนโลยีสารสนเทศที่มีต่อชีวิตความเป็นอยู่และสังคมจึงมีมาก มีการเรียนรู้และใช้สารสนเทศกันอย่างกว้างขวาง ผลของเทคโนโลยีสารสนเทศโดยรวมกล่าวได้ดังนี้
การสร้างเสริมคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น สภาพความเป็นอยู่ของสังคมเมือง มีการพัฒนาใช้ระบบสื่อสารโทรคมนาคม เพื่อติดต่อสื่อสารให้สะดวกขึ้น มีการประยุกต์มาใช้กับเครื่องอำนวยความสะดวกภายในบ้าน เช่น ใช้ควบคุมเครื่องปรับอากาศ ใช้ควมคุมระบบไฟฟ้าภายในบ้าน เป็นต้น
เสริมสร้างความเท่าเทียมในสังคมและการกระจายโอกาส เทคโนโลยีสารสนเทศทำให้เกิดการกระจายไปทั่วทุกหนแห่ง แม้แต่ถิ่นทุรกันดาร ทำให้มีการกระจายโอการการเรียนรู้ มีการใช้ระบบการเรียนการสอนทางไกล การกระจายการเรียนรู้ไปยังถิ่นห่างไกล นอกจากนี้ในปัจจุบันมีความพยายามที่ใช้ระบบการรักษาพยาบาลผ่านเครือข่ายสื่อสาร
สารสนเทศกับการเรียนการสอนในโรงเรียน การเรียนการสอนในโรงเรียนมีการนำคอมพิวเตอร์และเครื่องมือประกอบช่วยในการเรียนรู้ เช่น วีดิทัศน์ เครื่องฉายภาพ คอมพิวเตอร์ช่วยสอน คอมพิวเตอร์ช่วยจัดการศึกษา จัดตารางสอน คำนวณระดับคะแนน จัดชั้นเรียน ทำรายงานเพื่อให้ผู้บริหารได้ทราบถึงปัญหาและการแก้ปัญหาในโรงเรียน ปัจจุบันมีการเรียนการสอนทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศในโรงเรียนมากขึ้น
เทคโนโลยีสารสนเทศกับสิ่งแวดล้อม การจัดการทรัพยากรธรรมชาติหลายอย่างจำเป็นต้องใช้สารสนเทศ เช่น การดูแลรักษาป่า จำเป็นต้องใช้ข้อมูล มีการใช้ภาพถ่ายดาวเทียม การติดตามข้อมูลสภาพอากาศ การพยากรณ์อากาศ การจำลองรูปแบบสภาวะสิ่งแวดล้อมเพื่อปรับปรุงแก้ไข การเก็บรวมรวมข้อมูลคุณภาพน้ำในแม่น้ำต่าง ๆ การตรวจวัดมลภาวะ ตลอดจนการใช้ระบบการตรวจวัดระยะไกลมาช่วย ที่เรียกว่าโทรมาตร เป็นต้น
เทคโนโลยีสารสนเทศกับการป้องกันประเทศ กิจการทางด้านการทหารมีการใช้เทคโนโลยี อาวุธยุทโธปกรณ์สมัยใหม่ล้วนแต่เกี่ยวข้องกับคอมพิวเตอร์และระบบควบคุม มีการใช้ระบบป้องกันภัย ระบบเฝ้าระวังที่มีคอมพิวเตอร์ควบคุมการทำงาน
การผลิตในอุตสาหกรรม และการพาณิชยกรรม การแข่งขันทางด้านการผลิตสินค้าอุตสาหกรรมจำเป็นต้องหาวิธีการในการผลิตให้ได้มาก ราคาถูกลงเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์เข้ามามีบทบาทมาก มีการใช้ข้อมูลข่าวสารเพื่อการบริหารและการจัดการ การดำเนินการและยังรวมไปถึงการให้บริการกับลูกค้า เพื่อให้ซื้อสินค้าได้สะดวกขึ้น
เทคโนโลยีสารสนเทศมีผลเกี่ยวข้องกับทุกเรื่องในชีวิตประจำวัน บทบาทเหล่านี้มีแนวโน้มที่สำคัญมากยิ่งขึ้น ด้วยเหตุนี้เยาวชนคนรุ่นใหม่จึงควรเรียนรู้ และเข้าใจเกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อจะได้เป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศให้ก้าวหน้าและเกิดประโยชน์ต่อประเทศต่อไป

วันพฤหัสบดีที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552

นาโนเทคโนโลยี

นาโนเทคโนโลยี หลายคนอาจจะไม่เคยได้ยินคำว่า "นาโนเทคโนโลยี" บางคนอาจจะผ่านหูมาบ้างแล้ว แต่ ณ วินาทีนี้ "นาโนเทคโนโลยี" กำลังกลายมาเป็นโครงการศึกษา และวิจัยในระดับชาติของหลายประเทศ ในส่วนของรัฐบาลไทยก็เตรียมจะนำเรื่องนี้ เข้าสู่วาระแห่งชาติในปีนี้ด้วยนาโนเทคโนโลยี เป็นการสร้างเทคโนโลยีจากอะตอม และโมเลกุลของสิ่งต่าง ๆ ที่มีชีวิตขนาด 1 ในพันล้านส่วน มาใช้ให้เกิิดประโยชน์ในชีวิตประจำวันมากที่สุด โดยเฉพาะการช่วยให้ประชาชนมีสุขภาพดี และสามารถรักษาโรค ซึ่งเรื่องนี้ กำลังเป็นที่แพร่หลายในวงการแพทย์ของญี่ปุ่นและอเมริกา เพราะสามารถสร้างเครื่องมือขนาดจิ๋วรักษาโรคในระดับเซลล์ หรือโมลเลกุลในร่างกายได้ อย่างเช่นโรคมะเร็ง
ในส่วนของประเทศไทย ก็ให้ความสำคัญในเรื่องนี้เช่นกัน แต่จะเน้นทางด้านสร้างเสริมสุขภาพอนามัยเป็นหลัก โดยนำสิ่งที่เรามีบนผืนแผ่นดินไทย ซึ่งนับเป็นมรดกอันมีค่า มาใช้ประโยชน์ให้ได้มากที่สุด ทั้งนี้เนื่องจากเมือง ไทยมีพืชพันธุ์ธัญญาหารที่อุดมสมบูรณ์ ประกอบกับมีนักวิทยาศาสตร์ไทย ที่มีความสามารถในการเพาะเลี้ยงอาหารโปรตีน ที่มีคุณค่าระดับโมเลกุล ซึ่งเรื่องนี้ก็สอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาลที่ต้องการให้ประเทศไทยเป็นครัวของโลกด้วย รัฐบาลจึงพร้อมที่จะให้การสนับสนุนเต็มที่ โดยจะนำเข้าสู่วาระแห่งชาติในปีนี้
ศาสตราจารย์มณีวรรณ กมลพัฒนะ ราชบัณฑิตสำนักวิทยาศาสตร์ เป็นผู้หนึ่งที่ประสบความสำเร็จในการสร้างสารกระตุ้นการเติบโตทางพันธุกรรมของโคเนื้อ โดยอาศัยนาโนเทคโนโลยี ซึ่งอาจารย์มองว่าอาหารเหล่านี้ เมื่อเข้าสู่ร่างกายมนุษย์แล้ว จะส่งผลดีได้มากน้อยเพียงใดนั้น คงจะต้องอยู่ที่ตัวผู้บริโภคเองอาจารย์มณีวรรณ จึงได้นำเสนอเรื่องของนาโนเทคโนโลยีในวิถีชีวิตไทย เพื่อกระตุ้นให้ภาครัฐ นักวิจัย รวมถึงประชาชนทั่วไป หันมาให้ความสำคัญในการบริโภคอาหารควบคู่กับการจัดสมดุลยจิต โดยใช้หลักการเดียวกับนาโนเทคโนโลยี เพราะในร่างกายคนเรามีจำนวนเซลล์ที่รับสารอาหารมากมาย หากสามารถควบคุมได้ด้วยจิตแล้วละก็ จะช่วยให้ดูดซึมสารอาหารที่มีคุณค่าไปเสริมสร้างเซลล์ใหม่ได้อย่างพอดีฟังดูแล้วอาจจะเป็นเรื่องไม่ง่ายนัก แต่ก็ไม่ยากจนเกินไป เพียงแต่วันนี้ เริ่มต้นด้วยการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมในการรับประทาน การปรุงอาหาร ให้รู้จักคิดรู้จักเลือก โดยเฉพาะการนำสมุนไพรไทย มาเป็นส่วนประกอบสำคัญในแต่ละมื้ออาหารด้วย ขณะเดียวกัน ต้องหันมาให้ความสำคัญในการจัดสมดุลยจิต โดยวิปัสสนากรรมฐานด้วย เพียงเท่านี้โรคภัยต่างๆ ก็จะไกลตัว โดยที่เราไม่ต้องไปพึ่งนาโนเทคโนโลยีจากต่างประเทศแต่เพื่อความสะดวก และง่ายในการปฏิบัติของประชาชน ในอนาคตอันใกล้นี้ อาจารย์และคณะจะมีการจัดสร้างสูตรเฉพาะกับบุคคลที่มีสุขภาพระดับต่างๆ เพื่อให้เหมาะสมกับการย่อย และดูดซึมปริมาณโมเลกุลของอาหาร และหากได้เผยแพร่ไปยังร้านอาหารไทยในต่างแดน ก็คงจะเป็นอีกหนทางหนึ่ง ในการทำหน้าที่เป็นทูตวัฒนธรรม วิถีชีวิตไทยในเรื่องอาหาร และการบริโภค เพื่อความเป็นครัวโลกของไทย .นาโนเทคโนโลยี คืออะไร(www.nanozine.com) ลองจินตนาการดูว่า ถ้าเราสามารถผลิตชิ้นส่วน หรือสิ่งใดก็ได้ โดยมีค่าใช้จ่ายถูกแสนถูก ซึ่งสามารถประกอบตัวกันขึ้นมาเป็นรูปเป็นร่าง เหมือนกับการนำความต่างศักย์ทางไฟฟ้า ในรูปของ บิท(bit) มาประกอบกันเป็นข้อมูลด้านต่างๆ จนกลายเป็นคอมพิวเตอร์ในยุคปัจจุบันได้ แล้วอะไรจะเกิดขึ้น การผสมผสานกันของเทคโนโลยีด้านเคมีวิทยา และวิศวกรรมศาสตร์ ทำให้เกิดเทคโนโลยีใหม่ ที่สามารถเปลี่ยนแปลงโลกในอนาคตเป็นอีกรูปแบบได้ เรียกว่า "นาโนเทคโนโลยี" ทำให้เกิดยุคที่เครื่องยนต์กลไก สามารถสร้างตัวเองขึ้นใหม่ได้ ทำให้ได้สินค้าอุปโภคบริโภคที่ราคาถูก เพราะเราสร้างสิ่งต่างๆ จากหน่วยของอะตอม นาโนเทคโนโลยี จึงเป็นอุตสาหกรรมระดับโมเลกุล (โมเลกุล คือการประกอบกันของอะตอม เพื่อหน้าที่อย่างใดอย่างหนึ่ง) หรือการสร้างสิ่งต่างๆจากอะตอม ในหน่วยวัดระดับนาโนเมตร หรือมีขนาดเพียง 1/1,000,000,000 เมตรเท่านั้น (เล็กขนาดที่มองด้วยตาเปล่าไม่เห็น) อะไรมันจะอภิมหาจิ๋วขนาดนั้น และด้วยความสามารถในระดับที่ลึกนี่เอง ทำให้เราสามารถมองเห็นสิ่งต่างๆในระดับอะตอมได้ เป็นผลให้เราสามารถเข้าไปควบคุม หรือสร้างสิ่งต่างๆที่น่าจะเป็นไปได้ในด้านต่างๆได้ อาทิ สินค้าที่สร้างตัวเองได้, คอมพิวเตอร์เร็วขึ้นล้านเท่า, การเดินทางในอวกาศ, การไขปริศนาโรคภัยไข้เจ็บ รวมถึงความเป็นอมตะ, การสร้างอาหารที่ไม่มีวันหมด, การกระจายการศึกษาอย่างทั่วถึงทุกมุมโลก, การเพาะพันธุ์สัตว์ที่สูญพันธุ์ขึ้นใหม่, การใช้พลังงานแสงอาทิตย์อย่างเต็มที่ และสิ่งประดิษฐ์ใหม่ๆอีกมายมาก ตามแต่มนุษย์จะจินตนาการไปถึง (http://home.cnet.com/specialreports/0-6014-7-818759.html) ในโลกของสารสนเทศ ดิจิตอลเทคโนโลยี สามารถสร้างตัวเองใหม่ ด้วยความรวดเร็ว และสมบูรณ์ ในราคาที่ถูกได้ แล้วจะเป็นไรไป ถ้าหากว่าแนวความคิดนี้ สามารถนำมาใช้ในโลกที่เราจับต้องได้ ถ้าคุณสามารถรักษาโรคมะเร็ง โดยการดื่มเพียงน้ำผลไม้ ที่มีหุ่นยนต์จิ๋วแบบที่มองไม่เห็น ซึ่งมีหน้าที่รักษาโรคต่างๆ ตามที่โปรแกรมไว้ มีซูเปอร์คอมพิวเตอร์มีขนาดเล็กเท่าเซลล์ของมนุษย์ คุณสามารถไปท่องเที่ยวทั่วจักรวาลได้ ด้วยค่าใช้จ่ายที่เท่ากับไปต่างจังหวัด จะเอามั้ย นาโนเทคโนโลยีหวังเอาไว้เช่นนั้น ไม่ว่า จะเป็นนิยายหรือภาพยนตร์ แนววิทยาศาสตร์ ต่างก็มีจินตนาการที่รุดหน้า ซึ่งเราไม่สามารถนึกภาพได้ออกว่า ในอนาคตชีวิตของเราจะเป็นเช่นนั้นได้หรือไม่ แต่เมื่อมีแนวความคิด ของนาโนเทคโนโลยีเกิดขึ้น มันเหมือนกับ ทำให้ฝันของเราใกล้ความจริงเข้าไปทุกที นาโน หมายถึง หนึ่ง ใน พันล้านหน่วย นาโนเทคโนโลยี คือวิทยาการประยุกต์แขนงใหม่ที่ว่าด้วยเรื่องของเทคโนโลยีในการประกอบและผลิตสิ่งต่างๆ ขึ้นมาจากการจัดเรียงอะตอม หรือโมเลกุลเข้าด้วยกันด้วยความแม่นยำและถูกต้องในระดับนาโนเมตรหรือขนาด 1 ในพันล้านส่วนของ 1 เมตร โดยเป็นการผสมผสานของวิทยาศาสตร์หลายแขนง เช่น ชีววิทยา ชีวเคมี วิศวกรรมศาสตร์สาขา หุ่นยนต์ และเครื่องจักรกล ศาสตราจารย์ริชาร์ด ฟายน์แมน (Richard Feynman ผู้ได้รับ รางวัลโนเบลสาขาฟิสิกส์ ในปี ค.ศ. 1965) ผู้เปิดศักราชของนาโนเทคโนโลยี ได้กล่าวไว้ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1959 ว่า "สักวันหนึ่ง เราจะสามารถประกอบสิ่งต่างๆ ผลิตสิ่งต่างๆ ขึ้นมาจากการจัดเรียงอะตอมด้วยความแม่นยำ และเท่าที่ข้าพเจ้ารู้ ไม่มีกฎทางฟิสิกส์ใดๆ แม้แต่หลักแห่งความไม่แน่นอน (Uncertainty Principle) ที่จะมาขัดขวางความเป็นไปได้นี้"เค. อีริค เดร็กซเลอร์ (K. Eric Drexler) เจ้าพ่อแห่งนาโนเทคโนโลยี ผู้นิยามคำว่า 'นาโนเทคโนโลยี' นาโนเทคโนโลยีในจินตนาการของ เดร็กซเลอร์ ต้องเหมือนกับต้นไม้ ที่สามารถใช้ประโยชน์จากทุกสิ่งที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการผลิตของตนเอง ไม่ว่าจะเป็นน้ำหรือสารคาร์บอนต่างๆที่นำไปใช้เลี้ยง ลำต้น สร้างใบ ดอก และผล โดยไม่เหลือสิ่งตกค้างใดๆที่เป็นพิษปัจจัยที่จะทำให้นาโนเทคโนโลยีเป็นจริงได้ ปัจจัยแรก ต้องสามารถจับอะตอมให้ได้ทีละอะตอม แล้วจึงนำอะตอมมาเรียงในตำแหน่งที่ต้องการ เพื่อนำมาใช้ในการสร้างอุปกรณ์ที่มีประสิทธิภาพ นั่นหมายถึง เราจะต้องเข้าใจคุณสมบัติด้านฟิสิกส์ของอะตอมและโมเลกุลอย่างถ่องแท้ ก่อนที่นาโนเทคโนโลยีจะสำเร็จเป็นจริงเป็นจังขึ้นมาได้นั้น นักนาโนจะต้องสร้างแขนยนต์ในขนาดนาโนขึ้นมาก่อน ซึ่งเรียกว่า"นาโนยนต์ " โดยนาโนยนต์นี้มีหน้าที่ จับอะตอมและโมเลกุลที่สามารถทำปฏิกิริยากันได้ ไปเรียงตัวใหม่ ในตำแหน่งที่เราต้องการ ปัจจัยที่สอง คือ ตัวนาโนยนต์ต้องสามารถจำลองตัวเองได้ในขณะที่ผลิตสิ่งต่างๆ ซึ่งการที่นาโนยนต์จะสามารถจำลองตัวเองจาก 1 เป็น 2 จาก 2 เป็น4 จาก 4 เป็น 8 ได้นั้นต้องอาศัยซอฟต์แวร์ที่สามารถออกคำสั่งให้นาโนยนต์จำลองตัวเองขึ้นมา ปัจจัยนี้เกิดขึ้นมาเพื่อให้เทคโนโลยีด้านนี้ดำเนินได้อย่างคุ้มทุน ด้วยการที่นาโน-ยนต์สามารถจำลองตัวเองได้นั้น เป็นผลให้ต้นทุนในการสร้างวัตถุต่าง ๆ มีราคาต่ำกว่าต้นทุนในปัจจุบัน ยิ่งมีนาโนยนต์มาก ต้นทุนก็จะยิ่งถูกลง และในขณะเดียวกัน การจัดเรียงอะตอม ยังคงอยู่ในตำแหน่งที่ถูกต้องแม่นยำ ก็จะทำให้ได้ผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพสูง เชื่อถือได้

นาโนเทคโนโลยี

นาโนเทคโนโลยี หลายคนอาจจะไม่เคยได้ยินคำว่า "นาโนเทคโนโลยี" บางคนอาจจะผ่านหูมาบ้างแล้ว แต่ ณ วินาทีนี้ "นาโนเทคโนโลยี" กำลังกลายมาเป็นโครงการศึกษา และวิจัยในระดับชาติของหลายประเทศ ในส่วนของรัฐบาลไทยก็เตรียมจะนำเรื่องนี้ เข้าสู่วาระแห่งชาติในปีนี้ด้วยนาโนเทคโนโลยี เป็นการสร้างเทคโนโลยีจากอะตอม และโมเลกุลของสิ่งต่าง ๆ ที่มีชีวิตขนาด 1 ในพันล้านส่วน มาใช้ให้เกิิดประโยชน์ในชีวิตประจำวันมากที่สุด โดยเฉพาะการช่วยให้ประชาชนมีสุขภาพดี และสามารถรักษาโรค ซึ่งเรื่องนี้ กำลังเป็นที่แพร่หลายในวงการแพทย์ของญี่ปุ่นและอเมริกา เพราะสามารถสร้างเครื่องมือขนาดจิ๋วรักษาโรคในระดับเซลล์ หรือโมลเลกุลในร่างกายได้ อย่างเช่นโรคมะเร็ง
ในส่วนของประเทศไทย ก็ให้ความสำคัญในเรื่องนี้เช่นกัน แต่จะเน้นทางด้านสร้างเสริมสุขภาพอนามัยเป็นหลัก โดยนำสิ่งที่เรามีบนผืนแผ่นดินไทย ซึ่งนับเป็นมรดกอันมีค่า มาใช้ประโยชน์ให้ได้มากที่สุด ทั้งนี้เนื่องจากเมือง ไทยมีพืชพันธุ์ธัญญาหารที่อุดมสมบูรณ์ ประกอบกับมีนักวิทยาศาสตร์ไทย ที่มีความสามารถในการเพาะเลี้ยงอาหารโปรตีน ที่มีคุณค่าระดับโมเลกุล ซึ่งเรื่องนี้ก็สอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาลที่ต้องการให้ประเทศไทยเป็นครัวของโลกด้วย รัฐบาลจึงพร้อมที่จะให้การสนับสนุนเต็มที่ โดยจะนำเข้าสู่วาระแห่งชาติในปีนี้
ศาสตราจารย์มณีวรรณ กมลพัฒนะ ราชบัณฑิตสำนักวิทยาศาสตร์ เป็นผู้หนึ่งที่ประสบความสำเร็จในการสร้างสารกระตุ้นการเติบโตทางพันธุกรรมของโคเนื้อ โดยอาศัยนาโนเทคโนโลยี ซึ่งอาจารย์มองว่าอาหารเหล่านี้ เมื่อเข้าสู่ร่างกายมนุษย์แล้ว จะส่งผลดีได้มากน้อยเพียงใดนั้น คงจะต้องอยู่ที่ตัวผู้บริโภคเองอาจารย์มณีวรรณ จึงได้นำเสนอเรื่องของนาโนเทคโนโลยีในวิถีชีวิตไทย เพื่อกระตุ้นให้ภาครัฐ นักวิจัย รวมถึงประชาชนทั่วไป หันมาให้ความสำคัญในการบริโภคอาหารควบคู่กับการจัดสมดุลยจิต โดยใช้หลักการเดียวกับนาโนเทคโนโลยี เพราะในร่างกายคนเรามีจำนวนเซลล์ที่รับสารอาหารมากมาย หากสามารถควบคุมได้ด้วยจิตแล้วละก็ จะช่วยให้ดูดซึมสารอาหารที่มีคุณค่าไปเสริมสร้างเซลล์ใหม่ได้อย่างพอดีฟังดูแล้วอาจจะเป็นเรื่องไม่ง่ายนัก แต่ก็ไม่ยากจนเกินไป เพียงแต่วันนี้ เริ่มต้นด้วยการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมในการรับประทาน การปรุงอาหาร ให้รู้จักคิดรู้จักเลือก โดยเฉพาะการนำสมุนไพรไทย มาเป็นส่วนประกอบสำคัญในแต่ละมื้ออาหารด้วย ขณะเดียวกัน ต้องหันมาให้ความสำคัญในการจัดสมดุลยจิต โดยวิปัสสนากรรมฐานด้วย เพียงเท่านี้โรคภัยต่างๆ ก็จะไกลตัว โดยที่เราไม่ต้องไปพึ่งนาโนเทคโนโลยีจากต่างประเทศแต่เพื่อความสะดวก และง่ายในการปฏิบัติของประชาชน ในอนาคตอันใกล้นี้ อาจารย์และคณะจะมีการจัดสร้างสูตรเฉพาะกับบุคคลที่มีสุขภาพระดับต่างๆ เพื่อให้เหมาะสมกับการย่อย และดูดซึมปริมาณโมเลกุลของอาหาร และหากได้เผยแพร่ไปยังร้านอาหารไทยในต่างแดน ก็คงจะเป็นอีกหนทางหนึ่ง ในการทำหน้าที่เป็นทูตวัฒนธรรม วิถีชีวิตไทยในเรื่องอาหาร และการบริโภค เพื่อความเป็นครัวโลกของไทย .นาโนเทคโนโลยี คืออะไร(www.nanozine.com) ลองจินตนาการดูว่า ถ้าเราสามารถผลิตชิ้นส่วน หรือสิ่งใดก็ได้ โดยมีค่าใช้จ่ายถูกแสนถูก ซึ่งสามารถประกอบตัวกันขึ้นมาเป็นรูปเป็นร่าง เหมือนกับการนำความต่างศักย์ทางไฟฟ้า ในรูปของ บิท(bit) มาประกอบกันเป็นข้อมูลด้านต่างๆ จนกลายเป็นคอมพิวเตอร์ในยุคปัจจุบันได้ แล้วอะไรจะเกิดขึ้น การผสมผสานกันของเทคโนโลยีด้านเคมีวิทยา และวิศวกรรมศาสตร์ ทำให้เกิดเทคโนโลยีใหม่ ที่สามารถเปลี่ยนแปลงโลกในอนาคตเป็นอีกรูปแบบได้ เรียกว่า "นาโนเทคโนโลยี" ทำให้เกิดยุคที่เครื่องยนต์กลไก สามารถสร้างตัวเองขึ้นใหม่ได้ ทำให้ได้สินค้าอุปโภคบริโภคที่ราคาถูก เพราะเราสร้างสิ่งต่างๆ จากหน่วยของอะตอม นาโนเทคโนโลยี จึงเป็นอุตสาหกรรมระดับโมเลกุล (โมเลกุล คือการประกอบกันของอะตอม เพื่อหน้าที่อย่างใดอย่างหนึ่ง) หรือการสร้างสิ่งต่างๆจากอะตอม ในหน่วยวัดระดับนาโนเมตร หรือมีขนาดเพียง 1/1,000,000,000 เมตรเท่านั้น (เล็กขนาดที่มองด้วยตาเปล่าไม่เห็น) อะไรมันจะอภิมหาจิ๋วขนาดนั้น และด้วยความสามารถในระดับที่ลึกนี่เอง ทำให้เราสามารถมองเห็นสิ่งต่างๆในระดับอะตอมได้ เป็นผลให้เราสามารถเข้าไปควบคุม หรือสร้างสิ่งต่างๆที่น่าจะเป็นไปได้ในด้านต่างๆได้ อาทิ สินค้าที่สร้างตัวเองได้, คอมพิวเตอร์เร็วขึ้นล้านเท่า, การเดินทางในอวกาศ, การไขปริศนาโรคภัยไข้เจ็บ รวมถึงความเป็นอมตะ, การสร้างอาหารที่ไม่มีวันหมด, การกระจายการศึกษาอย่างทั่วถึงทุกมุมโลก, การเพาะพันธุ์สัตว์ที่สูญพันธุ์ขึ้นใหม่, การใช้พลังงานแสงอาทิตย์อย่างเต็มที่ และสิ่งประดิษฐ์ใหม่ๆอีกมายมาก ตามแต่มนุษย์จะจินตนาการไปถึง (http://home.cnet.com/specialreports/0-6014-7-818759.html) ในโลกของสารสนเทศ ดิจิตอลเทคโนโลยี สามารถสร้างตัวเองใหม่ ด้วยความรวดเร็ว และสมบูรณ์ ในราคาที่ถูกได้ แล้วจะเป็นไรไป ถ้าหากว่าแนวความคิดนี้ สามารถนำมาใช้ในโลกที่เราจับต้องได้ ถ้าคุณสามารถรักษาโรคมะเร็ง โดยการดื่มเพียงน้ำผลไม้ ที่มีหุ่นยนต์จิ๋วแบบที่มองไม่เห็น ซึ่งมีหน้าที่รักษาโรคต่างๆ ตามที่โปรแกรมไว้ มีซูเปอร์คอมพิวเตอร์มีขนาดเล็กเท่าเซลล์ของมนุษย์ คุณสามารถไปท่องเที่ยวทั่วจักรวาลได้ ด้วยค่าใช้จ่ายที่เท่ากับไปต่างจังหวัด จะเอามั้ย นาโนเทคโนโลยีหวังเอาไว้เช่นนั้น ไม่ว่า จะเป็นนิยายหรือภาพยนตร์ แนววิทยาศาสตร์ ต่างก็มีจินตนาการที่รุดหน้า ซึ่งเราไม่สามารถนึกภาพได้ออกว่า ในอนาคตชีวิตของเราจะเป็นเช่นนั้นได้หรือไม่ แต่เมื่อมีแนวความคิด ของนาโนเทคโนโลยีเกิดขึ้น มันเหมือนกับ ทำให้ฝันของเราใกล้ความจริงเข้าไปทุกที นาโน หมายถึง หนึ่ง ใน พันล้านหน่วย นาโนเทคโนโลยี คือวิทยาการประยุกต์แขนงใหม่ที่ว่าด้วยเรื่องของเทคโนโลยีในการประกอบและผลิตสิ่งต่างๆ ขึ้นมาจากการจัดเรียงอะตอม หรือโมเลกุลเข้าด้วยกันด้วยความแม่นยำและถูกต้องในระดับนาโนเมตรหรือขนาด 1 ในพันล้านส่วนของ 1 เมตร โดยเป็นการผสมผสานของวิทยาศาสตร์หลายแขนง เช่น ชีววิทยา ชีวเคมี วิศวกรรมศาสตร์สาขา หุ่นยนต์ และเครื่องจักรกล ศาสตราจารย์ริชาร์ด ฟายน์แมน (Richard Feynman ผู้ได้รับ รางวัลโนเบลสาขาฟิสิกส์ ในปี ค.ศ. 1965) ผู้เปิดศักราชของนาโนเทคโนโลยี ได้กล่าวไว้ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1959 ว่า "สักวันหนึ่ง เราจะสามารถประกอบสิ่งต่างๆ ผลิตสิ่งต่างๆ ขึ้นมาจากการจัดเรียงอะตอมด้วยความแม่นยำ และเท่าที่ข้าพเจ้ารู้ ไม่มีกฎทางฟิสิกส์ใดๆ แม้แต่หลักแห่งความไม่แน่นอน (Uncertainty Principle) ที่จะมาขัดขวางความเป็นไปได้นี้"เค. อีริค เดร็กซเลอร์ (K. Eric Drexler) เจ้าพ่อแห่งนาโนเทคโนโลยี ผู้นิยามคำว่า 'นาโนเทคโนโลยี' นาโนเทคโนโลยีในจินตนาการของ เดร็กซเลอร์ ต้องเหมือนกับต้นไม้ ที่สามารถใช้ประโยชน์จากทุกสิ่งที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการผลิตของตนเอง ไม่ว่าจะเป็นน้ำหรือสารคาร์บอนต่างๆที่นำไปใช้เลี้ยง ลำต้น สร้างใบ ดอก และผล โดยไม่เหลือสิ่งตกค้างใดๆที่เป็นพิษปัจจัยที่จะทำให้นาโนเทคโนโลยีเป็นจริงได้ ปัจจัยแรก ต้องสามารถจับอะตอมให้ได้ทีละอะตอม แล้วจึงนำอะตอมมาเรียงในตำแหน่งที่ต้องการ เพื่อนำมาใช้ในการสร้างอุปกรณ์ที่มีประสิทธิภาพ นั่นหมายถึง เราจะต้องเข้าใจคุณสมบัติด้านฟิสิกส์ของอะตอมและโมเลกุลอย่างถ่องแท้ ก่อนที่นาโนเทคโนโลยีจะสำเร็จเป็นจริงเป็นจังขึ้นมาได้นั้น นักนาโนจะต้องสร้างแขนยนต์ในขนาดนาโนขึ้นมาก่อน ซึ่งเรียกว่า"นาโนยนต์ " โดยนาโนยนต์นี้มีหน้าที่ จับอะตอมและโมเลกุลที่สามารถทำปฏิกิริยากันได้ ไปเรียงตัวใหม่ ในตำแหน่งที่เราต้องการ ปัจจัยที่สอง คือ ตัวนาโนยนต์ต้องสามารถจำลองตัวเองได้ในขณะที่ผลิตสิ่งต่างๆ ซึ่งการที่นาโนยนต์จะสามารถจำลองตัวเองจาก 1 เป็น 2 จาก 2 เป็น4 จาก 4 เป็น 8 ได้นั้นต้องอาศัยซอฟต์แวร์ที่สามารถออกคำสั่งให้นาโนยนต์จำลองตัวเองขึ้นมา ปัจจัยนี้เกิดขึ้นมาเพื่อให้เทคโนโลยีด้านนี้ดำเนินได้อย่างคุ้มทุน ด้วยการที่นาโน-ยนต์สามารถจำลองตัวเองได้นั้น เป็นผลให้ต้นทุนในการสร้างวัตถุต่าง ๆ มีราคาต่ำกว่าต้นทุนในปัจจุบัน ยิ่งมีนาโนยนต์มาก ต้นทุนก็จะยิ่งถูกลง และในขณะเดียวกัน การจัดเรียงอะตอม ยังคงอยู่ในตำแหน่งที่ถูกต้องแม่นยำ ก็จะทำให้ได้ผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพสูง เชื่อถือได้

วันพฤหัสบดีที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552

3.ประของพลังงานและแหล่งน้ำมาใช้กับการผลิตไฟฟ้า

อันมีองค์ประกอบหลักได้แก่ คาร์บอน (C) และไฮโดรเจน (H) โดยอาจมีธาตุอื่น ๆ เช่น กำมะถัน ออกซิเจน ไนโตรเจน ปนมา จึงจำเป็นจะต้องผ่านขบวนการแยกแยะเสียก่อนจากโรงงานแยกก๊าซ เมื่อได้เอาสารประกอบอื่น ๆ ออกไปก็จะเหลือก๊าซที่มีส่วนประกอบของ CH4 ซึ่งค่อนข้างเป็นเชื้อเพลิงที่บริสุทธิ์ แต่เนื่องจากมีโมเลกุลของคาร์บอนน้อย ตัวเชื้อเพลิงจึงมีลักษณะเป็นก๊าซ และไม่สามารถทำให้เป็นของเหลวได้ในอุณหภูมิบรรยากาศ ไม่ว่าจะอัดแรงดันเข้าไปสักเท่าใด ก็ไม่สามารถแปรสภาพเป็นของเหลวได้ เว้นแต่ให้อยู่ในอุณหภูมิที่ต่ำมาก การเก็บรักษาในภาชนะจึงมีความซับซ้อน และต้องป้องกันความร้อนมิให้เข้าไปกระทบกับถังเก็บภายใน ซึ่งอุปกรณ์เหล่านี้ต้องการบำรุงรักษาเป็นพิเศษ อีกทั้งต้องปล่อยไอระเหยของเชื้อเพลิงออกไปเป็นระยะ ๆ เพื่อให้รักษาระดับความเย็นไว้ ดังนี้ เมื่อไม่ได้ใช้เชื้อเพลิงจากการพักการใช้งานของยานยนต์ ก็จำเป็นต้องระบายไอระเหยออกทิ้งเป็นครั้งคราว จึงเป็นการสูญเสียพลังงาน อีกทั้งยังก่อให้เกิดมลภาวะในบรรยากาศได้ ถังเก็บก๊าซในยานยนต์จึงเป็นเพียงถังแรงดันสูงเท่านั้น การที่จะให้มีเชื้อเพลิงพอเพียงต่อการใช้งาน ก๊าซธรรมชาติจึงต้องถูกอัดไว้ที่แรงดันสูงเท่าที่จะสูงได้ สำหรับมาตรฐานสำหรับยานยนต์ก็จะอยู่ที่ 3600 PSI หรือประมาณ 245 เท่าของบรรยากาศ ภาชนะจึงต้องมีความแข็งแรงมาก ถ้าเป็นถังเหล็กก็จะมีน้ำหนักมากพอสมควร เช่น ถังบรรจุก๊าซที่เทียบพลังงานเท่ากับเชื้อเพลิงเบนซินขนาด 18 ลิตร จะมีน้ำหนักถึง 70 กิโลกรัม ก็เกือบ ๆ ข้าวสารหนึ่งกระสอบนั่นแหละ ถ้าท่านยังไม่คุ้นเคยก็ทดลองเอาข้าวสารหนึ่งกระสอบใส่ท้ายรถแล้วลองขับดู จะรู้สึกทันที สำหรับภาชนะอื่นที่เป็นวัสดุสังเคราะห์ เรียกทับศัพท์ว่าถังคอมโพซิส พวกนี้จะเบากว่ามาก นอกจากนี้ยังทำท่านตัวเบาไปด้วย เพราะเป็นถังที่มีราคาสูง อีกทั้งอายุการใช้งานสั้นกว่า นอกจากนี้การเติมแต่ละครั้ง ก็มีส่วนทำให้อายุการใช้งานลดลง เพราะความเครียดที่เกิดขึ้นจากการอัดก๊าซ และถูกปลดปล่อยออกจากการใช้เชื้อเพลิงไป ถ้าตรงนี้เข้าใจยากก็ให้นึกถึงการดัดลวดไปมาหลาย ๆ ครั้งเข้า ลวดก็ขาดได้ ถังคอมโพซิสก็เข้าข่ายนี้เช่นกัน

2.การประมงน้ำจืดและน้ำเค็มในประเทศไทย

แร่ (Mineral)แร่ (Mineral) หมายถึงสารที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ มีส่วนประกอบทางเคมีที่แน่นอน ประกอบด้วยธาตุตั้งแต่ 1 ชนิดขึ้นไป มีการตกผลึกที่แน่นนอน เช่น คัลเซียมซัลเฟต (CaSO4) เรียกว่าแร่ แอนไฮไดรท์ บางชนิดประกอบด้วยแร่ชนิดเดียว เช่น เพชร ซึ่งประกอบด้วย คาร์บอน ในสภาวะที่เหมาะสมแร่จะเกิดการตกผลึก (Crystal) มีรูปร่างแน่นอนตามชนิดของแร่ เช่น ผลึก 6 เหลี่ยม 8 เหลี่ยม เป็นต้น ปัจจัยที่ทำให้เกิดผลึก. ระยะเวลาในการเย็นตัว ช่องว่างที่จะเกิดผลึก ความเข้มข้นของสารละลาย ปริมาณของสารละลาย** นักเรียนสามารถทำการศึกษาการตกผลึกได้ด้วยตัวเอง โดยติดต่อครูที่ห้องทดลองได้ตลอดเวลาชนิดของแร่ แบ่งออกเป็น 2 ชนิด1. แร่ปฐมภูมิ (Primary Minerals) เป็นแร่ที่เกิดจากการเย็นตัวของหินหนืดจะได้ผลึกและโครงสร้างที่แน่นอน2. แร่ทุติยภูมิ (Secondary Minerals) เกิดจากตะกอนหรือตกตะกอนทับถมของแร่ หรือหินที่ผุพังทางเคมี ทางฟิสิกส์ หรือชีวภาพ** ศึกษาภาพและรายละเอียดได้จากหนังสือ โดยติดต่อครูที่ห้องทดลองได้ตลอดเวลาสมบัติของแร่ 1. สมบัติทางกายภาพ (Physical Properties) เป็นสมบัติที่ตรวจสอบได้ง่ายราคาถูก เช่น การดูด้วยสายตา การจับ การใช้คุณสมบัตินี้ในการแยกแร่ต่างๆ เกิดขึ้นเมื่อ พ.ศ. 1901 โดยศาตราจารย์อัลบิน ไวสแบค ( Albin Weisback) นักวิยาศาสตร์ชาวเยอรมัน ซึ่งแบ่งคุณสมบัติต่าง ๆ

การประมงน้ำจืดและน้ำเค็มในประเทศไทย

แร่ (Mineral)แร่ (Mineral) หมายถึงสารที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ มีส่วนประกอบทางเคมีที่แน่นอน ประกอบด้วยธาตุตั้งแต่ 1 ชนิดขึ้นไป มีการตกผลึกที่แน่นนอน เช่น คัลเซียมซัลเฟต (CaSO4) เรียกว่าแร่ แอนไฮไดรท์ บางชนิดประกอบด้วยแร่ชนิดเดียว เช่น เพชร ซึ่งประกอบด้วย คาร์บอน ในสภาวะที่เหมาะสมแร่จะเกิดการตกผลึก (Crystal) มีรูปร่างแน่นอนตามชนิดของแร่ เช่น ผลึก 6 เหลี่ยม 8 เหลี่ยม เป็นต้น ปัจจัยที่ทำให้เกิดผลึก. ระยะเวลาในการเย็นตัว ช่องว่างที่จะเกิดผลึก ความเข้มข้นของสารละลาย ปริมาณของสารละลาย** นักเรียนสามารถทำการศึกษาการตกผลึกได้ด้วยตัวเอง โดยติดต่อครูที่ห้องทดลองได้ตลอดเวลาชนิดของแร่ แบ่งออกเป็น 2 ชนิด1. แร่ปฐมภูมิ (Primary Minerals) เป็นแร่ที่เกิดจากการเย็นตัวของหินหนืดจะได้ผลึกและโครงสร้างที่แน่นอน2. แร่ทุติยภูมิ (Secondary Minerals) เกิดจากตะกอนหรือตกตะกอนทับถมของแร่ หรือหินที่ผุพังทางเคมี ทางฟิสิกส์ หรือชีวภาพ** ศึกษาภาพและรายละเอียดได้จากหนังสือ โดยติดต่อครูที่ห้องทดลองได้ตลอดเวลาสมบัติของแร่ 1. สมบัติทางกายภาพ (Physical Properties) เป็นสมบัติที่ตรวจสอบได้ง่ายราคาถูก เช่น การดูด้วยสายตา การจับ การใช้คุณสมบัตินี้ในการแยกแร่ต่างๆ เกิดขึ้นเมื่อ พ.ศ. 1901 โดยศาตราจารย์อัลบิน ไวสแบค ( Albin Weisback) นักวิยาศาสตร์ชาวเยอรมัน ซึ่งแบ่งคุณสมบัติต่าง ๆ

วันศุกร์ที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2552

วันพฤหัสบดีที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2552

1. ประโยชน์ของทรัพยากรประมงในท้องถิ่น 2. การประมงน้ำจืดและน้ำเค็มในประเทศไทย 3. ประโยชน์ของพลังงานและแหล่งน้ำมาใช้กับการผลิตไฟฟ้า

การอนุรักษ์ทรัพยากรน้ำ ดังได้กล่าวมาแล้วจะเห็นว่า น้ำมีความสำคัญและมีประโยชน์มากมายมหาศาล เราจึงควรช่วยกันอนุรักษ์ทรัพยากรน้ำดังนี้
1. การใช้น้ำอย่างประหยัด นอกจากจะช่วยลดค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับค่าน้ำลงได้แล้ว ยังทำให้ปริมาณน้ำเสียที่จะทิ้งลงแหล่งน้ำลดลง และป้องกันการขาดแคลนน้ำได้ด้วย
2. การสงวนน้ำไว้ใช้ ในบางฤดูหรือในสภาวะที่มีน้ำมากเหลือใช้ ควรมีการเก็บน้ำไว้ใช้ เช่น การทำบ่อเก็บน้ำ การสร้างโอ่งน้ำ การขุดลอกแหล่งน้ำ รวมทั้งการสร้างอ่างเก็บน้ำไว้ใช้เพื่อการเกษตร และพลังงานแล้วยังช่วยป้องกันการเกิดอุทกภัย ป้องกันการไหลชะล้างหน้าดินที่อุดมสมบูรณ์และใช้เป็นที่พักผ่อนหย่อนใจ
3. การพัฒนาแหล่งน้ำ ในบางพื้นที่ขาดแคลนน้ำ จำเป็นที่จะต้องหาแหล่งน้ำเพิ่มเติม เพื่อให้มีน้ำไว้ใช้ทั้งในครัวเรือนและในการเกษตรได้อย่างเพียงพอ ปัจจุบันการนำน้ำบาดาลขึ้นมาใช้กำลังแพร่หลายมาก แต่อาจมีปัญหาเรื่องแผ่นดินทรุด เช่นในบริเวณกรุงเทพ ฯ ทำให้เกิดดินทรุดได้ จึงควรมีมาตรการกำหนดว่าเขตใดควรใช้น้ำใต้ดินได้มากน้อยเพียงใด
4. การป้องกันน้ำเสีย การไม่ทิ้งขยะ สิ่งปฏิกูล และสารพิษลงในแหล่งน้ำ น้ำเสียที่เกิดจากโรงงานอุตสาหกรรม โรงพยาบาล ควรมีการบำบัดและขจัดสารพิษก่อนที่จะปล่อยลงสู่แหล่งน้ำ การวางท่อระบายน้ำจากบ้านเรือน การวางฝังการก่อสร้างโดยไม่ให้น้ำสกปรกไหลลงสู่แม่น้ำลำคลอง 5. การนำน้ำเสียกลับไปใช้ น้ำที่ไม่สามารถใช้ได้ในกิจการหนึ่ง เช่น น้ำทิ้งจากการล้างภาชนะอาหาร สามารถนำไปรดต้นไม้ โรงงานบางแห่งอาจนำน้ำทิ้งมาทำให้สะอาดแล้วนำกลับมาใช้ใหม่