วันพฤหัสบดีที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2552

1. ชื่อโครงงาน
โครงงาน ประดิษฐ์เศษวัสดุเหลือใช้ ( ดอกเห็ดกะลามะพร้าว )
2. สาระสำคัญ
เศษวัสดุเหลือใช้ ประเภทเศษไม้ กะลามะพร้าวที่ใช้เนื้อแล้ว สามารถนำมาดัดแปลง ตกแต่ง
ให้สวยงาม แล้วนำมาใช้ประโยชน์ได้ ผู้เรียนสามารถประดิษฐ์ได้เองในระยะเวลาสั้นๆ นอกจาก
จะเป็นการนำเศษวัสดุที่เหลือใช้กลับมาดัดแปลงให้เกิดประโยชน์อีกครั้งแล้ว ยังเป็นการฝึกสมาธิ
ฝึกทักษะ ฝึกการทำงานร่วมกับผู้อื่น ฝึกความสามัคคี แล้วยังพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ให้กับ
ผู้เรียนได้ดียิ่งขึ้นด้วย
3. จำนวนผู้จัดทำ
สมาชิกจำนวนกลุ่มละ 3 คน
4. ที่มาและความสำคัญของโครงงาน
กะลามะพร้าวที่เหลือจากการใช้เนื้อมะพร้าวทำขนม หรืออาหารของแม่ครัวและผู้ปกครอง นักเรียนเป็นเศษวัสดุเหลือใช้ ซึ่งกลายเป็นขยะที่มีมากในโรงเรียนและในหมู่บ้าน เราสามารถนำเศษ- วัสดุเหลือใช้เหล่านี้มาประดิษฐ์เป็นของใช้ ของประดับตกแต่ง โดยให้ผู้เรียนเล็งเห็นคุณค่าของเศษ วัสดุและเห็นแนวทางจากของจริง แล้วให้ผู้เรียนวางแผนออกแบบ จัดเตรียมวัสดุ - อุปกรณ์ จนถึง ขั้นปฏิบัติงานพร้อมทั้งรายงานผลการปฏิบัติงาน เป็นวิธีการหนึ่งของการจัดกิจกรรมการเรียนการ สอนของชมรมศิลปะ ตามกลุ่มสาระการเรียนรู้ ศิลปะ (ทัศนศิลป์) ที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนได้สร้างองค์ ความรู้ได้ด้วยตนเอง พร้อมทั้งพัฒนาความคิดสร้างสรรค์จากการปฏิบัติกิจกรรมที่ตนเองและเพื่อน สนใจและร่วมงานวางแผนไว้
5. วัตถุประสงค์ของการศึกษาค้นคว้า
5.1 เพื่อให้นักเรียนสามารถวางแผนและออกแบบการทำดอกเห็ดจากกะลามะพร้าวได้
5.2 เพื่อให้นักเรียนสามารถบอกขั้นตอนการทำดอกเห็ดจากกะลามะพร้าวได้
5.3 เพื่อให้นักเรียนสามารถนำเศษวัสดุเหลือใช้มาดัดแปลงให้เกิดประโยชน์ได้
5.4 เพื่อให้นักเรียนรู้จักการทำงานร่วมกับผู้อื่นและมีความสามัคคีในหมู่คณะ
5.5 เพื่อให้นักเรียนได้เรียนรู้ตามความสนใจและเกิดความภาคภูมิใจในผลงานของตน

6. สมมุติฐานของการศึกษาค้นคว้า
เศษวัสดุเหลือใช้ประเภทกะลามะพร้าว สามารถนำมาดัดแปลง ตกแต่งให้เกิดประโยชน์ได้

7. วิธีดำเนินการ
7.1 วัสดุ / อุปกรณ์ที่ใช้
☻ กะลามะพร้าว
☻ เศษไม้กระดาน ท่อนไม้
☻ กระดาษทราย
☻ เลื่อย ค้อน ตะปู
☻ สีน้ำพลาสติก
☻ แปรงทาสี
☻ กาวตราช้าง
☻ แล็กเกอร์
7.2 แนวทางการศึกษาค้นคว้า
แผนระยะที่ 1 เริ่มต้นโครงงาน
1. การศึกษาสภาพปัญหา ครูสนทนากับนักเรียนเกี่ยวกับเศษวัสดุเหลือใช้ที่กลายเป็นขยะในโรงเรียนและในหมู่บ้านของนักเรียน เช่น เศษไม้ กะลามะพร้าวที่ใช้แล้ว เราน่าจะนำมาดัดแปลง ตกแต่งให้เกิดประโยชน์ได้
2. การอภิปราย วิเคราะห์ ร่วมกันกำหนดเรื่องที่จะทำโครงงาน โดยครูและนักเรียนร่วมกันจัดทำเป็นโครงงานดอกเห็ดจากกะลามะพร้าวและประโยชน์ที่จะได้รับจากการจัดทำขึ้น
3. การวางแผนโครงงาน ครูใช้เทคนิคต่างๆ จัดกิจกรรมเพื่อให้นักเรียนแบ่งกลุ่มออก เป็นกลุ่ม
กลุ่มละ 3 คน ต่อจากนั้นให้นักเรียนแต่ละกลุ่มร่วมกันวางแผนในการจัดเตรียมวัสดุ - อุปกรณ์ ในการดำเนินกิจกรรม โครงงานดอกเห็ดจากกะลามะพร้าว
แผนระยะที่ 2 พัฒนาโครงงาน
1. การดำเนินกิจกรรม โดยให้นักเรียนแต่ละกลุ่มนำวัสดุ - อุปกรณ์บางส่วนมาเอง บางส่วนครูจัดเตรียมให้ แล้วให้นักเรียนลงมือปฏิบัติ ดัดแปลง ตกแต่ง ลวดลาย สีสัน ตามข้อตกลงของสมาชิกในกลุ่ม ซึ่งแต่ละกลุ่มจะมีการตกแต่งลวดลายไม่เหมือนกัน
2. รายงานผลการดำเนินกิจกรรม ให้นักเรียนคัดเลือกตัวแทนแต่ละกลุ่มเพื่อรายงานถึงขั้นตอนและกระบวนการทำงานโครงงานดอกเห็ดจากกะลามะพร้าว ของกลุ่มตลอดจนบอกถึงประโยชน์ในการทำ
แผนระยะที่ 3 รวบรวม สรุป
1. การแสดงผลงาน ผลงานของแต่ละกลุ่มให้นำมาจัดแสดงไว้ในบริเวณชั้นเรียนตามความเหมาะสม แล้วให้เพื่อนนักเรียนในชั้นร่วมชื่นชมผลงานของสมาชิกทุกกลุ่มตลอดจนบอกถึงประโยชน์ของเศษวัสดุเหลือใช้และประโยชน์ของโมบายแสนสวย
2. สรุปการดำเนินกิจกรรม / ข้อเสนอแนะ การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนแบบ-โครงงาน ในขั้นตอนนี้ นักเรียนและครูร่วมกันอภิปรายถึงเรื่องต่างๆ ปัญหาและอุปสรรคในการปฏิบัติงาน พร้อมกันนี้ร่วมกันสรุปถึงขั้นตอนหรือกระบวนการทำงาน ประโยชน์ในการทำดอกเห็ดจากกะลามะพร้าว ตลอดจนร่วมกันเสนอแนะข้อคิดเห็นในการดำเนินกิจกรรมครั้งต่อไป
8. แผนการปฏิบัติงาน
8.1 กิจกรรมการศึกษาสภาพปัญหา จัดในเวลาเหมาะสม ประมาณ 5 นาที
8.2 กิจกรรมอภิปราย / วิเคราะห์ / กำหนดเรื่องที่จะทำโครงงาน ประมาณ 5 นาที
8.3 กิจกรรมการวางแผนการทำโครงงาน เวลาประมาณ 5 นาที
( กิจกรรมตามข้อ 8.1 - 8.3 ปฏิบัติกิจกรรมล่วงหน้า 1 วัน )
8.4 การดำเนินกิจกรรมใช้เวลาประมาณ 3 ชั่วโมง
8.5 รายงานผลการดำเนินกิจกรรมใช้เวลาประมาณ 15 นาที
8.6 การแสดงผลงาน ใช้เวลาประมาณ 10 นาที
8.7 การสรุปผลการดำเนินกิจกรรม ใช้เวลาประมาณ 10 นาที
( กิจกรรมตามข้อ 8.4 - 8.7 ปฏิบัติกิจกรรมในชั่วโมงชมรม )

9. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
9.1 นักเรียนได้รับความรู้ความเข้าใจ และทักษะการทำงานตามกระบวนการกลุ่ม
9.2 นักเรียนได้ปฏิบัติกิจกรรมตามความถนัดและความสนใจของตนเอง
9.3 นักเรียนได้รับการฝึกทักษะและความคิดริเริ่มสร้างสรรค์
9.4 นักเรียนได้รู้จักการนำเศษวัสดุเหลือใช้มาดัดแปลง ประดิษฐ์ ตกแต่งให้เกิดประโยชน์

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น